หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

My working style สไตล์การทำงานของฉัน (ตอนที่ 2)



ส่วนสไตล์ในการทำงานกลุ่ม ส่วนใหญ่เบียร์ก็จะเป็นผู้ตามค่ะ  เพราะไม่ชอบคิดเยอะ 55+  ไม่ใช่ค่ะ ก็รู้สึกว่าถ้าเห็นคนอื่นในกลุ่มรับบทบาทนี้ได้ดีกว่าเรา ก็ให้เค้านำจะดีกว่า  เพราะว่าถ้าต่างคนต่างนำต่างก็เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ งานมันก็ไม่รู้ว่าจะไปในทิศทางไหน แล้วโดยส่วนตัวแล้วเบียร์ก็เป็นคนที่ไม่ชอบสั่งใครด้วยค่ะ  ถ้าเกิดว่าต้องขึ้นไปนำก็จะชอบทำคนเดียวหมด (อันนี้เป็นตอนสมัยอยู่มัธยมค่ะ  เพราะว่าไม่กล้าสั่งเพื่อน แต่พอเข้ามหาลัยมาก็พยายามปรับตัวค่ะ) แต่ว่าเบียร์ชอบบริหารนะคะ  ประมาณว่าคิดว่าคนนี้ถนัดอันนี้น่าจะทำงานนี้ อย่างในวิชานี้ก็จะได้ทำงานกลุ่มบ่อยค่ะ ก็จะอยู่กลุ่มเดิมตลอด สไตล์การทำงานก็จะเป็นอย่างนี้ตลอดค่ะ ก็อยู่กลุ่มเดียวกับอาร์ต อ๋อ นุ่น  ค่ะ และด้วยความที่อ๋อเป็นคนที่มีศักยภาพสูงเราก็จะแต่งตั้งอ๋อให้เป็นหัวหน้า โดยปริยาย 55+  

และ ด้วยความที่เรามีข้อดีที่ต่างกันก็ช่วยให้เราเติมเต็มกันได้เป็นอย่างดีเลย ล่ะค่ะ  ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่างในการชมภาพยนตร์แล้วนำมาวิเคราะห์นะคะ  การทำงานนี้เราก็จะแบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละคนค่ะ อย่างอาร์ตชอบพวกตัดต่อวิดีโอก็รับหน้าที่ตัดต่อไป  อ๋อทำ Powerpoint สวยก็รับหน้าที่ทำ Presentation ไป นุ่นเป็นคนพูดเก่งก็รับหน้าที่ในการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียนไป  เบียร์เป็นคนพูดไม่ค่อยเก่งเลยไม่ค่อยชอบการออกไปพรีเซนต์ซักเท่าไหร่ มันรู้สึกเขินน่ะค่ะ ^^ เวลาต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ แล้วสติก็จะแตกต้องดูโพยตลอด 55+ เลยได้รับมอบหมายให้เป็นคนวิเคราะห์ค่ะ  ความจริงอ๋อก็พยายามให้เพื่อนได้ออกไปพรีเซนต์ทุกคนนะคะเป็นการฝึก  แต่บทบาทในการพูดอ๋อก็จะแบ่งสัดส่วนได้อย่างเหมาะสมค่ะ อย่างเบียร์อ๋อคงรู้แหละค่ะว่าเบียร์ไม่ค่อยชอบออกไปพูดเลยชอบให้พรีเซนต์ในลักษณะไฟล์เสียงมากกว่า 55+
 การทำหน้าที่ในการวิเคราะห์เป็นหน้าที่ที่ต้องทำเป็นอันดับแรกสุดเลยล่ะค่ะ  เพราะว่าถ้าเรายังไม่วิเคราะห์คนอื่นก็จะไม่สามารถนำงานไปทำต่อได้  เลยต้องให้อ๋อกำหนด dealdline ค่ะ  แล้วเบียร์ก็ทำหน้าที่ส่วนของเบียร์ให้ดีที่สุดแล้วก็ส่งต่อให้เพื่อนไปทำพรีเซนต์ค่ะ  ซึ่งหน้าที่ในส่วนของเบียร์จะต้องดูหนังให้จบ แล้วนำมาวิเคราะห์ให้เข้ากับลักษณะการเรียนรู้ที่ได้เรียนไป  ซึ่งในการทำงานนี้กลุ่มเราได้รับมอบหมายให้ดูหนังเรื่อง Patch Adam ซึ่งสิ่งที่เบียร์ได้มากกว่าการดูแล้วทำงานส่งอาจารย์คือข้อคิดค่ะ ทำให้เบียร์ได้แรงบันดาลใจในการมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น  การยึดมั่นในอุดมการณ์ การต่อสู้ การทำงานหนัก  เราสามารถทำหลายๆอย่างไปพร้อมๆกันได้  เราไม่จำเป็นต้องเรียนหนักอย่างเดียวเพื่อใบปริญญา  แต่เราสามารถเรียนและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้สังคม  ให้ผู้อื่นและเราก็สามารถประสบความสำเร็จได้  อย่าง Patch  เขาไม่ได้เป็นนักเรียนแพทย์ที่วันๆเอาแต่อ่านหนังสือ  เขาเป็นคนที่มีอุดมการณ์และยึดมั่นในอุดมการณ์  มีจุดยืนของตัวเอง  เขาใส่ใจ  เข้าหาและให้เวลากับคนไข้ และถึงแม้วันๆเขาจะไม่ได้เอาแต่หมกตัวอยู่กับหนังสือแต่เขาก็สามารถทำคะแนนสอบได้เป็นอันดับหนึ่งของชั้นปีได้   
นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆในสไตล์การทำงานที่เบียร์เป็น ข้อคิดที่เบียร์ได้รับ  ในมุมมองของเบียร์ค่ะ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

My working style สไตล์การทำงานของฉัน (ตอนที่ 1)



กระบวนการขั้นตอนการทำงานที่ผ่านมา  ในการทำงานหรือทำการบ้านของเบียร์ก็มีทำงานกลุ่มบ้าง เดี่ยวบ้าง แต่ชอบทำงานเดี่ยวมากกว่า ได้คิดเยอะดี  555+  ไม่ ใช่ค่ะ ความจริงที่ชอบทำงานเดี่ยวก็เพราะว่ารู้สึกว่ามันอิสระดี เราอยากทำยังไงก็ได้แบบว่าตามใจฉัน ฉันอยากทำแบบนี้ เราสามารถคิดไปและแก้ไปได้อย่างอิสระ  แต่การทำงานกลุ่มมีเวลาคิดในขอบเขตที่จำกัด คิดแล้วก็สิ้นสุดที่มติของที่ประชุม ไม่สามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆได้ เพราะจะทำให้คนในกลุ่มสับสน เลยไม่ค่อยชอบคิดเท่าไหร่ เวลาทำงานกลุ่มก็จะเป็นผู้ตามมากกว่า แต่ก็เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตที่เราจะต้องไปทำ งานร่วมกับคนอื่นในสังคม  

ซึ่งในการเรียนในวิชา ET213 ก็มีทั้งการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ก่อนอื่นขอพูดถึงการทำงานเดี่ยวก่อนนะคะ  ยกตัวอย่างการเขียน Blog  เวลาเบียร์ทำงานจะเป็น สไตล์ที่คิดเยอะ จะคิดก่อนล่วงหน้าพอครูสั่งก็จะเริ่มคิดตั้งแต่วันนั้นเลย  นึกอะไรได้แล้วก็จดไว้ในโทรศัพท์ วันแรกๆจะเป็นอะไรที่ร้อนรนมาก  เป็นอะไรที่ตื่นเต้น คิดว่าจะทำยังไงดี จะเขียนอะไรดี วันแรกจะเป็นอะไรที่คิดได้เยอะแยะมากมายไปหมด แล้วระดับความร้อนรนก็จะเริ่มลดลงตามวันและเวลาค่ะ แล้วก็จะมาร้อนอีกทีจนวันสุดท้าย แบบไฟลนก้นน่ะค่ะ 55+

เวลา คิดงานเบียร์จะชอบคิดเวลาว่างๆค่ะ  เวลาที่อยู่คนเดียวเป็นเวลาที่คิดงานได้ดีสุด  ถ้าให้มานั่งคิดแล้วเขียนลงไปเลยจะคิดไม่ค่อยออกค่ะ  มันรู้สึกเหมือนกดดันตัวเองว่าให้คิดๆๆๆ  แล้วก็จะคิดไม่ออก  เวลาคิดเบียร์ก็เลยชอบคิดเวลาว่างๆ  ๆ ไม่ได้รีบไปทำอะไร บางไอเดียดีๆเกิดขึ้นในเวลาที่เราไม่ได้ตั้งใจ เช่น เวลาล้างจาน 55+  หรือ เวลาที่นั่งรถเมล์ชิลล์ๆ เดินเล่นตอนเย็นๆ ก็จะชอบคิดคำพูดไปเรื่อยเปื่อยว่าจะเขียนอะไรบ้าง  จะทำออกมาในรูปแบบไหน แล้วก็จะจดหัวข้อไว้ในโทรศัพท์  

แล้วการที่เบียร์ชอบจดไว้ มันก็ทำให้เบียร์มีเรื่องที่จะเขียนเต็มไปหมดจนเลือกไม่ถูกเลยล่ะค่ะ เวลาเอามาเขียนจริงเลยต้องเลือก  คัดออกบ้าง และขนาดคัดออกแล้วก็ยังเหลือเยอะอยู่ดี  อารมณ์แบบว่ารักพี่เสียดายน้อง  แต่ด้วยเวลาที่เอามาทำจริงก็จะชอบทำวันสุดท้าย  ฟีลร้อนรนในเรื่องที่จะเขียนก็จะหมดไป เขียนออกมาแบบไฟลนก้นแทนค่ะ 555+ 

"การทำงานของเบียร์  ขั้นตอนการเริ่มออกจากจุดสตาร์ทเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุดแล้วค่ะ นึกถึงรถเวลาออกตัวแล้วมันฝืดๆน่ะค่ะ  แต่พอได้นั่งลงมือทำไปซักพักเครื่องเริ่มร้อนก็เป็นช่วงที่ยากจะถอนตัวเหมือนกัน เหมือนได้ขับรถเล่นกินลมชมวิวไปเรื่อยๆ เป็นช่วงที่เพลิดเพลินมากกับการชมวิวทิวทัศน์ จนไม่อยากที่จะจอดเลยล่ะค่ะ"

ที่เบียร์บอกว่า “เหมือนกับได้ชมวิวทิวทัศน์”  ก็เพราะว่าเวลาทำในส่วนของเนื้อหาหรือการเขียนมันก็จะไหลลื่นคิดอะไรได้ต่อก็จะใส่ไปเหมือนเวลาเราได้ชมความงามของธรรมชาติสองข้างทางเราก็อยากจะสื่อออกไปค่ะ  จนบางครั้งก็กลายเป็นออกนอกลู่นอกทางไปแทน 55+  บางครั้งพิมพ์ออกมาได้ 5-6 A4 เบียร์ก็ต้องมาพยายามนั่งย่อให้มันเหลือหน้าเดียวหรือสองหน้าแทนค่ะ  เพราะการเขียนไปเยอะๆบางครั้งก็ทำให้มันดูเหมือนเยอะไปคนอ่านเห็นแล้วก็ท้อไม่อยากอ่านแล้วค่ะ  แต่เวลาตัดบางช่วงบางตอนออกมันก็เหมือนได้ตัดสิ่งที่ไม่มีสาระแต่ว่า “สวยงาม” ออกไป

แล้วความงามอีกอย่างที่เบียร์ชอบก็คือการตกแต่งค่ะ  เบียร์เป็นคนชอบตกแต่งงาน ชอบทำอะไรที่มันน่ารักๆ ดูแล้วมันจรรโลงใจดีค่ะ 555+  อย่างฟอนต์เบียร์ก็ไม่ค่อยชอบทำอะไรที่มันเป็นดูเป็นทางการมากไปนัก ดูอย่างบล็อกแรกๆที่เบียร์ทำเบียร์จะใช้ฟอนต์ที่มันน่ารักๆ แต่ฟอนต์ที่ใช้เขียนบล็อกมันก็มีให้เลือกไม่มาก ไม่ค่อยจะถูกใจเรา เบียร์ก็เลยเอาไปลง photoshop ค่ะ ทำออกมาเป็นไฟล์รูปเอา  แต่มันก็มีข้อเสียค่ะ คือถ้าคนอื่นเข้ามาอ่านแล้วจะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เค้าก็ไม่สามารถก๊อปได้ค่ะ   แล้วที่สำคัญมันลำบากเวลาแก้ด้วยค่ะ  บางครั้งเราเขียนไปแล้วมันมีคำผิด  หรือมันยังไม่ดี เวลาจะเอามาแก้ไฟล์ที่ใช้แก้หายไปไหนแล้วไม่รู้ ถ้าจะแก้ก็ต้องนั่งทำใหม่  มันเลยทำให้เราเป็นคนที่ขี้เกียจแก้งานค่ะ  บล็อกหลังๆเบียร์เลยยอมใช้ฟอนต์อันมีอยู่น้อยนิด แล้วก็การตกแต่งที่ไม่ค่อยจะได้ดั่งใจอย่าง photoshop แทน TT
                                                                                          อ่านต่อ>> My working style  สไตล์การทำงานของฉัน (ตอนที่ 2)              

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

Learning by CAI



แผนการจัดการเรียนรู้วิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (เวลา 4 ชั่วโมง)


ความคิดรวบยอด 
     การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์หรือการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้งเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร็ว 2 แนว พร้อมๆกันคือ แนวระดับและแนวดิ่ง  ความเร็วในแนวระดับมีค่าคงตัว ส่วนในแนวดิ่งวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง คือจะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งลดลงเรื่อยๆ  คือจะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวของความเร็วลัพธ์ทำให้การเคลื่อนที่ของวัตถุมีวิถีโค้ง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    
     ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายเกี่ยวกับเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ พร้อมทั้งสามารถอธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จุดประสงค์การเรียนรู้ 
     1.ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้และลักษณะของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได
     2.ผู้เรียนสามารถอธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได  

สาระการเรียนรู้ 
     1.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
    
2.การนำความรู้เกี่ยวกับโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  

กิจกรรมการเรียนการสอน 
     1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

     1.1.นำเกม Angry Bird มาให้เด็กเล่น

    1.2.ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในเกม เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน

    1.3.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
    

     2.ขั้นสอน

     2.1.สอนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายขึ้น

      2.2.ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยให้นักเรียนดูภาพการเคลื่อนที่แบบต่างๆจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและตอบว่าใช่การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์หรือไม่

      2.3.ให้นักเรียนทำการทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในรูปแบบของเกม ให้ผู้เรียนคำนวณว่าระยะทางเท่านี้ควรใช้มุมและแรงเท่าใด

      2.4.ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยใช้เกม 

     2.5.ให้นักเรียนกลับไปทบทวนบทเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเรียน 
     3.ขั้นสรุป

     3.1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ในชั้นเรียนเกี่ยวกับความหมายและลักษณะการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

     3.3.ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ ร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียนเกี่ยวกับการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     3.2.เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยและร่วมกันสรุปเพื่อให้นักเรียนเข้าใจตรงกัน 

สื่อการเรียนรู้

     1.เกม Angry Bird

     2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

     3.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ฟิสิกส์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของ สสวท.

     4.คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต


การวัดและประเมินผล 
     1.วัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนโดยภาพรวมจากการถามตอบในห้องเรียน

     2.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจเป็นรายบุคคล

อ้างอิง  

บทเรียนการเคลื่อนที่แบบ Projectile
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/science/Projectile-motion/start.html


วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

CAI ให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

CAI หลายๆคนคงจะเคยได้ยินคำนี้อยู่บ่อยๆ  หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร ทั้งที่เคยใช้มันแล้วนั่นแหละค่ะ สำหรับฉันทั้งเคยได้ยินบ่อย  แล้วก็เคยใช้บ่อยด้วยค่ะ แต่ไม่ยักรู้ว่ามันคือบทเรียน CAI ฉันว่าหลายๆคนก็คงเป็นเหมือนกัน เอ๊ะ!หรือเป็นอยู่คนเดียว 555+ ถ้าอย่างนั้นเราไปทำความรู้จักกับบทเรียน CAI กันเลยดีกว่าค่ะ

                          


ทำไม??ถึงต้องให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

1.การนำบทเรียน CAI มาใช้ในการเรียนการสอน  เป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เด็กที่เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจะเรียนได้เร็วกว่าการสอนปกติ โดยไม่ต้องคอยเพื่อนในชั้นเรียน  และเนื่องจากลักษณะของโปรแกรมเป็นโปรแกรมที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน  เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า  สามารถเรียนไปตามความสามารถของตน ไม่รีบเร่ง ไม่ต้องอายผู้อื่น  และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด  ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ดีตามความสามารถของตนเอง   นอกจากนี้ยังช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ผู้เรียนด้วย เนื่องจากผู้เรียนจะต้องฝึกความรับผิดชอบและมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน  ผู้เรียนมีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เนื่องจากการนำเสนอเนื้อหาสามารถใช้สื่อได้อย่างหลากหลาย (Multimedia) เช่น ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) ทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ผ่านการดู การฟัง ช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้ดียิ่งขึ้น 

3.มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มมากมาย เช่น การสอน ทบทวน เกม การจำลองสถานการณ์ เป็นต้น

4.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการวัดผลและประเมินผลไปพร้อม ๆ กัน  ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว เมื่อนักเรียนมีปัญหา หรือไม่เข้าใจในบทเรียนหรือเมื่อนักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้องเครื่องจะรายงาน ผลให้ทราบทันที ผู้เรียนสามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน เสริมแรงให้อยากเรียนต่อ

5.ผู้เรียนได้เรียนเป็นขั้นตอนจากง่ายไปหายากอย่างเป็นระบบ ซึ่งความสามารถของคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนน และยังเป็นการประหยัดเวลาให้กับผู้สอนในการประเมินผล คิดเกรดอีกด้วย

6.ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย ในการสร้างสถานการณ์จำลอง การเลียนแบบของจริง ตลอดจนการช่วยตัดสินใจการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ หรือจะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเนื้อหาเดิม ทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมอีกก็ได้

6.สะดวกในการนำมาใช้ และสะดวกในการให้ผู้เรียนนำไปทบทวนบทเรียน เนื่องจากโปรแกรมสามารถถ่ายโอนข้อมูลลงในระบบสารสนเทศ หรือ CD-Rom ได้ ผู้เรียนสามารถศึกษาจากบทเรียนขณะที่อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่โรงเรียนก็ได้  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้นำเสนอโปรแกรมอย่าง tablet ยิ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และยังเป็นการลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

จากคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแตกต่างไปจากสื่อการสอนอื่น ๆ คือ สามารถโต้ตอบ และแสดงผลลัพธ์ให้ผู้เรียนดูได้ทันที ทำให้น่าตื่นเต้น สนุกสนาน การใช้สี  ภาพเคลื่อนไหว  เสียงดนตรี  เป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้  ทำแบบฝึกหัด  หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหา และเข้าใจบทเรียนได้อย่างรวดเร็ว


ถึงแม้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์และตอบสนองความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ก็มีข้อเสียและ-ข้อจำกัดอยู่หลายประการ ดังนี้

1.เนื่องจากบทเรียน CAI จะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยในการอ่านข้อมูล ทำให้เป็นอุปสรรคต่อนักเรียนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต(เนื่องจากบางครั้งครูผู้สอนนำเสนอข้อมูลลงอินเทอร์เน็ต) และถึงแม้ว่าปัจจุบันราคาเครื่องคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสถานศึกษานั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย

2.ปัจจุบันยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกันเพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันเช่น ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กอินทอชได้

3.เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้าจึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้

4.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้

5.ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา และการคิดวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด ใช้เวลาในการพัฒนานาน การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน และในการการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแม้จะมีประโยชน์หลายๆด้านก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามในการนำเอาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตัวมันเอง เป็นเพียงอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ใช้แทนครูผู้สอนได้ค่ะ   

้างอิง